เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 แนะยื่นรับ “เงินขาดรายได้” หลังหายป่วยโควิด เช็กที่นี่
ตรวจสอบ เงินเยียวยาประกันสังคมม.33 ม.39ม.40 แนะยื่นรับเงินขาดรายได้ หลังหายป่วยโควิด ล่าสุด นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40ที่รักษาตัวหายจากโรคโควิด-19 แล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้ กังวลเรื่องของโควิดแพร่ระบาด
สามารถยื่นขอรับเงินขาดรายได้ภายใน 2 ปี หรือ ไม่ต้องไปที่สนง.ประกันสังคม แต่สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มแล้วส่งมาให้สำนักงานประกันสังคมตามที่อยู่ในเว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ให้เรียบร้อย ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีให้ตามที่ยื่นมา
กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า “เงินทดแทนการขาดรายได้” ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่งๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองจากนายจ้าง
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
- หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
ผู้อ่านสามารถเช็คยอดผู้ป่วยแต่ละวันผ่านทาง สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ได้เหมือนกัน
ข่าวต้นทาง : กรุงเทพธุรกิจ